http://cosatutor.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าหลัก  ทีมติวเตอร์  วิธีสมัครเรียน  อัตราค่าเรียน  ผลงานเด่น ติวที่บ้าน  หลักสูตร  เว็บบอร์ด
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 23/01/2009
ปรับปรุง 05/04/2020
สถิติผู้เข้าชม112,905
Page Views134,442
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
วิธีสมัครเรียนพิเศษ
ผลงานดีเด่น เรียนที่บ้าน
งานสอน
บทเรียนและความรู้สำหรับน้องๆ
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

การเปลี่ยนหน่วย

ระบบหน่วยระหว่างประเทศ (International System of Units) หรือ ระบบเอสไอ (SI) คือ ระบบหน่วยมาตรฐานที่องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO หรือ International Organization for Standardization) กำหนดขึ้นให้ทุกประเทศใช้เป็นมาตรฐาน เพื่อให้การใช้หน่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยเฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์

 

               หน่วยฐาน (Base units) เป็นหน่วยหลักของเอสไอ มีทั้งหมด 7 หน่วย

ชื่อหน่วยสัญลักษณ์ปริมาณนิยาม
กิโลกรัม kg มวล หน่วยของมวลซึ่งเท่ากับมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม (ทรงกระบอกแพลตินัม-อิริเดียม) เก็บไว้ที่ Bureau International des Poids et Mesures (BIPM), Sèvres, Paris (1st CGPM (1889), CR 34-38)
วินาที s เวลา หน่วยของช่วงเวลา 9 192 631 770 เท่าของคาบการแผ่รังสีที่เกิดจากการเปลี่ยนสถานะระดับไฮเพอร์ไฟน์ของสถานะพื้นของอะตอมซีเซียม-133 ที่อุณหภูมิ 0 เคลวิน (13th CGPM (1967-1968) Resolution 1, CR 103)
เมตร m ความยาว หน่วยของความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา 1/299 792 458 วินาที (17th CGPM (1983) Resolution 1, CR 97)
แอมแปร์ A กระแสไฟฟ้า หน่วยของกระแสไฟฟ้าคงตัวซึ่งเมื่อให้อยู่ในตัวนำตรงและขนานกัน 2 เส้น ที่มีความยาวไม่จำกัดและมีพื้นที่หน้าตัดน้อยจนไม่ต้องคำนึงถึง และวางห่างกัน 1 เมตรในสุญญากาศแล้ว จะทำให้เกิดแรงระหว่างตัวนำทั้งสองเท่ากับ 2×10 −7 นิวตันต่อความยาว 1 เมตร (9th CGPM (1948) Resolution 7, CR 70)
เคลวิน K อุณหภูมิอุณหพลวัต หน่วยของอุณหภูมิอุณหพลวัติ (หรืออุณหภูมิสัมบูรณ์) มีค่าเท่ากับ 1/273.16 ของอุณหภูมิอุณหพลวัติของจุดร่วมสามสถานะของน้ำ (13th CGPM (1967) Resolution 4, CR 104)
โมล mol ปริมาณของสาร หน่วยของปริมาณของสารซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบมูลฐานที่มีจำนวนเท่ากับจำนวนของอะตอมคาร์บอน-12 ปริมาณ 0.012 กิโลกรัม (14th CGPM (1971) Resolution 3, CR 78) (องค์ประกอบมูลฐาน ซึ่งอาจเป็นอะตอม, โมเลกุล, ไอออน, อิเล็กตรอน, หรือ อนุภาค) มีค่าประมาณ 6.02214199×1023 หน่วย (เลขอาโวกาโดร)
แคนเดลา cd ความเข้มของการส่องสว่าง หน่วยของความเข้มส่องสว่างในทิศที่กำหนดของแหล่งกำเนิดที่แผ่รังสีของแสงความถี่เดียวที่มีความถี่ 540×1012 เฮิรตซ์ และมีความเข้มของการแผ่รังสีในทิศทางนั้นเท่ากับ 1/683 วัตต์ต่อสตีเรเดียน (16th CGPM (1979) Resolution 3, CR 100)

 

               หน่วยอนุพันธ์ (Derived units) เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยของอัตราเร็วเป็น เมตรต่อวินาที ซึ่งมีเมตรและวินาที เป็นหน่วยฐาน หน่วยอนุพันธ์มีหลายหน่วยซึ่งมีชื่อและสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะ

 

ชื่อหน่วยสัญลักษณ์ปริมาณการแสดงออกในรูปหน่วยฐาน
เฮิรตซ์ Hz ความถี่ s-1
นิวตัน N แรง kg m s -2
จูล J พลังงาน N m = kg m2 s-2
วัตต์ W กำลัง J/s = kg m2 s-3
พาสคัล Pa ความดัน N/m2 = kg m -1 s-2
ลูเมน lm ฟลักซ์ส่องสว่าง cd sr = cd
ลักซ์ lx ความสว่าง cd m-2
คูลอมบ์ C ประจุไฟฟ้า A s
โวลต์ V ความต่างศักย์ J/C = kg m2 A-1 s-3
โอห์ม Ω ความต้านทานไฟฟ้า V/A = kg m2 A-2 s-3
ฟารัด F ความจุ Ω-1 s = A2 s4 kg-1 m-2
เวเบอร์ Wb ฟลักซ์แม่เหล็ก kg m2 s-2 A-1
เทสลา T ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก Wb/m2 = kg s-2 A-1
เฮนรี H ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า Ω s = kg m2 A-2 s-2
ซีเมนส์ S ความนำ Ω-1 = kg-1 m-2 A2 s3
เบกเคอเรล Bq กันมันตภาพของรังสี s-1
เกรย์ Gy ขนาดกำหนดของการดูดกลืนรังสี J/kg = m2 s-2
ซีเวิร์ต Sv ขนาดกำหนดของกัมมันตภาพรังสี J/kg = m2 s-2
องศาเซลเซียส °C อุณหภูมิอุณหพลวัต K - 273.15

 

                คำอุปสรรค หรือ คำนำหน้าหน่วย (prefix) ใช้นำหน้าหน่วย เพื่อทำให้หน่วยที่ใช้ เล็กลง หรือ โตขึ้น และแนะนำให้ใช้เป็นขั้นละ 1,000 เท่า

10nคำอุปสรรคสัญลักษณ์ย่อตัวคูณที่เทียบเท่า
1024 ยอตตะ Y 1 000 000 000 000 000 000 000 000
1021 เซตตะ Z 1 000 000 000 000 000 000 000
1018 เอกซะ E 1 000 000 000 000 000 000
1015 เพตะ P 1 000 000 000 000 000
1012 เทระ T 1 000 000 000 000
109 จิกะ G 1 000 000 000
106 เมกะ M 1 000 000
103 กิโล k 1 000
102 เฮกโต h 100
101 เดคา da 10
10−1 เดซิ d 0.1
10−2 เซนติ c 0.01
10−3 มิลลิ m 0.001
10−6 ไมโคร µ 0.000 001
10−9 นาโน n 0.000 000 001
10−12 พิโก p 0.000 000 000 001
10−15 เฟมโต f 0.000 000 000 000 001
10−18 อัตโต a 0.000 000 000 000 000 001
10−21 เซปโต z 0.000 000 000 000 000 000 001
10−24 ยอกโต y 0.000 000 000 000 000 000 000 001

การเปลี่ยนหน่วยทำได้โดยง่าย ให้น้องๆ ยึดหลัก คูณตัวเก่าหารด้วยตัวใหม่

เช่นต้องการเปลี่ยน 10 mm ไปเป็นหน่วย k
วิธีทำ        10x 10^-3  = 10x10^-6 =  10^-5   km
                     10^3
                     
                 

 
 หน้าแรก  หลักสูตรการศึกษา  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา
view